วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

งานกลุ่ม โครงการในพระราชดำริ

โครงการที่1 โครงการ"ชั่งหัวมัน" ตามพระราชดำริ



วิมานน้ำ รีสอร์ท


 โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
                ประวัติโครงการ : ที่มาของโครงการนี้มีว่า ข้าราชบริพารในพระองค์ได้มาซื้อที่ดินบริเวณนี้สำหรับอยู่อาศัย ปลูกพืชผล ต่อมาความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรที่ดินและได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวจำนวน 250 ไร่ สำหรับเพาะปลูกพืชทำเป็นโครงการตามพระราชดำริ และได้มีมีชาวบ้านได้นำมันเทศที่ปลูกมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์แต่เมื่อเสด็จกลับมิได้ทรงนำมันหัวนั้นไปด้วย แต่เมื่อเสด็จกลับมาอีกครั้งทรงพบว่ามันหัวนั้นงอกเป็นต้น จึงมีพระราชดำรัสว่ามันอยู่ที่ไหนก็งอกได้ จึงมีพระราชดำริให้จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ โดยเน้นที่พืชท้องถิ่นของเพชรบุรี เช่น มะพร้าว ชมพู่เพชร มะนาว กะเพรา สัปปะรด ข้าวไร่พันธุ์ต่างๆ และทรงมีพระราชดำริให้ปลูกแปลงทดลองมันเทศในที่ดินส่วน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการพระราชดำริล่าสุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังทรงให้ปรับปรุงระบบระบายน้ำที่อ่างเก็บน้ำหนองเสือ  เพื่อใช้ในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ  บ้านหนองคอกไก่  ตำบลเขากระปุก  อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี อีกด้วย


               และเมื่อกราบบังคมทูล ฯ ขอพระราชทานชื่อโครงการ พระองค์จึงตรัสว่าชื่อ "ชั่งหัวมัน" ก็แล้วกัน


              ชื่อ โครงการชั่งหัวมัน ถือได้ว่าเป็นชื่อโครงการที่แปลก ชวนให้คิดตีความว่าชื่อนี้มีความหมายอะไร ถ้าตีความหมายตามสำนวนไทย ชั่งหัวมัน (ช่างหัวมัน) ก็หมายถึง “ไม่ต้องไปสนใจ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด ใครจะทำอะไรก็ทำไป เราไม่ต้องไปใส่ใจ” พระองค์ท่านเป็นนักปราชญ์มีสายพระเนตรยาวไกลและความคิดที่ลึกซึ้ง ชั่งหัวมันจึงเป็นชื่อที่สื่ออะไรที่มีความหมายลึกซึ้งมากยิ่งกว่าแค่เอาหัวมันมาชั่ง  ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะตีความตามแบบฉบับของตัวเองแล้วกันค่ะ ซึ่งขอบอกว่า ไม่ธรรมดาแน่ ๆ ค่ะ


             สถานที่ตั้ง:  คลอบคลุมตำบลเขากระปุก และตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (ห่างจากที่พัก วิมานน้ำ รีสอร์ท ประมาณ 15 กิโลเมตร)



"โครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นอีกแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม" 


รูปโครงการ :


                    วิมานน้ำ รีสอร์ท
                    วิมานน้ำ รีสอร์ท
                                                                     ตำหนักที่ประทับของพระองค์




โครงการที่2 โครงการแก้มลิง





"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ
"โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."

พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘

 "โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
       คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป



แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการแรก    สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒   จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ
เพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓    ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิม
และขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔    สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕    ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่างๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ  "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ
่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว
โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ
ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ
โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
       "โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเล
ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน
"โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำ
ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วม
ออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมาก
ลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า
"...ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."




โครงการที่3 โครงการแกล้งดิน


แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก
ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
จากการทดลอง ทำให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ ๓ วิธีการด้วยกัน คือ
  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
  • ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
  • ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน




โครงการที่4 โครงการสหกรณ์ อาชีพพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถลึกซึ้งในการที่ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการสหกรณ์ให้ประชาชนทุกท้องที่ที่มีโครงการช่วยเหลือตามพระราชประสงค์ ให้รวมกลุ่มกันดำเนินธุรกิจในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ตามหลักวิธีการสหกรณ์ ทำมาหากินได้ดีขึ้น อยู่รวมกันด้วยความไว้วางใจซึ่ง  กันและกัน และมีความผาสุกร่มเย็นโดยทั่ว  ถึง ยังประโยชน์แก่พสกนิกรให้ได้รับความสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพ และมีความสุขในการดำรงชีพอย่างใหญ่หลวง


พระองค์ได้พระราชทานวิธีการและแนวทางอันถูกต้อง เกี่ยวกับการพัฒนางานสหกรณ์ที่สมบูรณ์แบบและหวังผลสำเร็จได้ บนรากฐานของการช่วยตนเอง และช่วยซึ่งกันและกัน ตามหลักและวิธีการสหกรณ์ที่แท้จริง ทั้งเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ จารีตประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชนชาวไทยอีกด้วย

ผลสำคัญอย่างหนึ่งอันสืบเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนางานสหกรณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรากฏเด่นชัดในโครงการจัดสหกรณ์ตามพระราชประสงค์ในลักษณะหมู่บ้านสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่ทั้งในด้านการจัดสหกรณ์การเกษตร และเป็นศูนย์พัฒนาชนบท เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับเกษตรกรทั่วไป เริ่มด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นปฐม ต่อมาได้จัดให้มีขึ้นอีกหลายโครงการทั่วทุกภาคของประเทศไทย โครงการเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานของกระทรวงและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้พัฒนาเป็นสหกรณ์การเกษตรที่มั่นคงในที่สุด อันได้แก่สหกรณ์กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สหกรณ์ทุ่งลุยลาย จังหวัดชัยภูมิ สหกรณ์โป่งกระทิง จังหวัดราชบุรี สหกรณ์โนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ สหกรณ์ทุ่งลิปะสะโง จังหวัดปัตตานี สหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์


ทั้งนี้วิธีการ ตามพระราชดำริดังกล่าวได้กลายเป็นแบบฉบับสำหรับการจัดสหกรณ์ที่ดินให้เกษตรกรยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้เข้ามาอาศัย ประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจร่วมกันตามแบบสหกรณ์ในประเทศไทย โดยใช้หลักและวิธีการสหกรณ์แก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ของสมาชิก เริ่มตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งผลิตผลไปจำหน่าย ทั้งเป็นแหล่งให้การศึกษา ส่งเสริม เผยแพร่ และสาธิตการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรแก่เกษตรกรอีกด้วย



ในด้านการจัดหาทุนเพื่อกิจการการผลิตพืชผลและการหาตลาดสำหรับพืชผลและผลิตผลที่สมาชิกสหกรณ์ผลิตได้นั้นได้ทรงแนะนำส่งเสริมที่ผ่านการทดลองให้เป็นแบบอย่างมาแล้วด้วยพระองค์เอง ให้สมาชิกสหกรณ์ได้รู้จักวิธีการออมทรัพย์เพื่อเป็นทุน การจัดหาน้ำและการบำรุงดิน การใช้พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดี เหมาะสมและมีผลิตภาพสูง การใช้เครื่องมือและวิธีการที่จะช่วยทุ่นแรงและประหยัด การเก็บรักษาพืชผลและผลิตผล การแปรรูปพืชผลและผลิตผลของสมาชิกเพื่อจำหน่าย ตลอดจน การจัดธนาคารข้าว รวมทั้งการเริ่มงานธนาคาร แรงงานสัตว์ คือ ธนาคารโค กระบือ และการเชื่อมประสานงานฝ่ายต่าง ๆ ของสหกรณ์ เพื่อบริการแก่สมาชิกในรูปสหกรณ์อเนกประสงค์ ซึ่งทำธุรกิจหลายอย่างที่จำเป็น ตามความต้องการของสมาชิก ยังผลให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับความสะดวกในการประกอบอาชีพ และมีรายได้จากผลิตผลของตนสูงขึ้น อันเป็นที่ประจักษ์แก่เกษตรกรและพสกนิกรโดยทั่วไป


จากวันนั้นถึงวันนี้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ต่างปลื้มปีติและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้ได้มีโอกาสเพื่อการผลิตและการตลาดที่ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลไกทางการค้าของสังคมยุคปัจจุบันได้

ณ วันนี้สหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสมาชิก ตลอดถึงนิคม สหกรณ์ สหกรณ์นิคม ทั่วทั้งแผ่นดินไทยต่างรับทราบเป็นอย่างดีว่า วิถีชีวิตที่ดีขึ้นและมั่นคงในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชดำริให้มีการนำหลักการสหกรณ์ และการจัดตั้งสหกรณ์มาใช้ในสังคมการผลิตภาคการเกษตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง.





โครงการที่5 โครงการหญ้าแฝก


















ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์
และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ











ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย
กว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง
เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ
และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร
ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้

2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก

3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝก
เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถว
ตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ
และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร
ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้

2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝก
เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถว
ตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน

4.การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถว
ของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน

5.การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา

6.การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นา
ตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
ตะกอนดิน

7.การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม

8.การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝก
เพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

 9.การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน
ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น

10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพง
กักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น

ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
1.ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน

2.ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิต
จำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

3.หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนราก
สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”


จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มี
ผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติ
ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International
Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ
หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า
ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด
ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น
ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนิน
งานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์
ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล
แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง


รายชื่อผู้จัดทำ
นางสาวปรียานุช                     บุญปฎิมากร                 รหัส53492441060
นายธนกร                                ป้อมหลักทอง              รหัส53492441069
นางสาวสรินดา                       บุญสิงห์ศร                     รหัส53492441071
นายจิระพงศ์                            จันทรทองภัคดี            รหัส53492441075
นาสาวสุธาสินี                         คำเกตุ                         รหัส53492441079
นางสาวกฤษณา                      แซ่ฉั่ว                          รหัส53492441094
นางสาวปทุมพร                       เปรมใจ                       รหัส53492441097
นายกิติโชติ                              แก้วคง                               รหัส53492441100
นางสาวอมรรัตน์                     วัฒนะพงศกร              รหัส53492441110